คุณยังไม่มีสินค้าในรถเข็น
Deep Sky Object by อุปกรณ์ตามดาว KENKO SKYMEMO T
วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 21 นาฬิกา 51 นาที 50 วินาที Asia/Bangkok
ในช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงเวลาของนักตามดาวเพราะเป็นช่วงเวลาที่ห้องฟ้าค่อนข้างจะไร้เมฆทำให้สามารถมองเห็นดวงดาวได้อย่างชัดเจน และในช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการถ่ายดาว และวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือที่เราเรียกว่า Deep Sky Object
สำหรับมือใหม่อย่างผมที่เคยแต่ถ่ายแต่ทางช้างเผือก พอเข้าหน้าหนาวแล้วทางช้างเผือกจะตกจากขอบฟ้าไปหลังจากพระอาทิตย์ตกไม่นานเลยทำให้หน้านี้ไม่ค่อยจะได้ออกไปดูดาวเท่าไหร่
มอเตอร์ตามดาวตัวนี้ได้รับมาจากคุณ Tamrong นักป้ายยาในตำนานให้มาทดลองใช้ครับ วันแรกที่ได้มาก็มาศึกษาดูว่าการทำงานของอุปกรณ์ตัวนี้เป็นยังไง นั่งลองถ่ายเล่นๆ รอเวลาฟ้าเปิด พอดูพยากรณ์อากาศว่าฟ้าเปิดก็รีบออกไปถ่ายข้างนอกกับพี่ๆ ที่รักการถ่ายภาพดาว เพื่อเก็บภาพมาให้ชมกันครับ
เมื่อเราแหงนมองฟ้า ดวงดาวที่ปรากฎบนท้องฟ้านั้นจะเคลื่อนอย่างช้าๆ ตามการหมุนของโลก โดยเคลื่อนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก
โดยโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ = 24 ชั่วโมง มีที่มาจาก ดาวหมุนเป็นวงกลม 360 องศา
24 ชั่วโมง ดาวเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง = 360 องศา
1 ชั่วโมง ดาวเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง = 360 / 24 = 15 องศา
1 นาที ดาวเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง = 15 / 60 = 0.25 องศา
ตัวอย่าง Time lease ทางช้างเผือกที่ถ่ายไว้เมื่อต้นปี จะสังเกตว่าดาวจะค่อยๆ เคลือนไปอย่างข้าๆ
วิธีการถ่ายดาวนั้นจะมีการกำหนดค่าของ Speed shutter ของกล้องไม่ให้เกิดตามการกฎการคำนวน 400/600 ซึ่งหากขนาดเซนเซอร์เป็น APS-C จะคำนวน speed shutter จาก 400/ทางยาวโพกัส หรือ Fullframe 32mm จะใช้สูตร 600/ทางยาวโฟกัส ตัวอย่างเช่นถ้าใช้กล้อง D750 ที่เป็น 32mm fullframe และเลนส์ 20mm จะได้ speed shutter ที่สามารถถ่ายดาวแล้วดูไม่ยืดมาก เท่ากับ 600/20 = 30sec ซึ่งเป็นค่าที่สามารถใช้ Speed shutter มากสุดที่แนะนำ แต่ในความเป็นจริงนิยมที่จะใช้ Speed shutter ที่ไวกว่าค่าคำนวนประมาณครึ่งหนึ่งครับ > ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000154287
ตัวอย่างภาพทางช้างเผือกที่ถ่ายด้วย speed shutter 15sec
แต่สำหรับการถ่ายวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือที่เราเรียกว่า Deep Sky Object จะอาศัยการเก็บแสงจากท้องฟ้าเป็นเวลานานๆ เพื่อทำให้เห็นรายละเอียดของ วัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือที่เราเรียกว่า Deep Sky Object ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาปล่าว
ซึ่งการเก็บแสงโดยใช้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลนั้นมีข้อจำกัดจากการใช้ speed shutter เป็นเวลานานกว่าค่าที่ได้จากการคำนวนตามสูตร 400/600 จึงทำให้เวลาถ่ายดาวออกมาแล้วจะมีลักษณะยืดเป็นเส้น
ตัวอย่างภาพกลุ่มดาวลูกไก่ ที่ใช้กล้อง D750 และ เลนส์ 105mm f2.8 Macro ถ่ายที่ speed shutter 30sec
ดังนั้นการถ่ายวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือที่เราเรียกว่า Deep Sky Object จึงจำเป็นต้องมีตัวช่วยครับ ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสร้างเองได้ง่ายๆ จะเรียกว่า Barn door tracker
รายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.manager.co.th/science/viewnews.aspx?NewsID=9550000081049
หากต้องการความแม่นยำ และใช้งานได้สดวกกว่าจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า Star tracker หรือมอเตอร์ตามดาวครับซึ่งวันนี้เราจะมารีวิวกันครับ อุปกรณ์มอเตอร์ตามดาวที่ได้มาใช้ถ่ายรูปดาวในครั้งนี้คือ KENKO SKYMEMO T ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตามดาวขนาดเล็ก โดยอุปกรณ์ในชุดจะมีดังนี้
1. หัวบอลสำหรับต่อจากเพลทด้านหน้า
2. สายลั่น Shutter
การใช้งานนั้นจะใช้งานร่วมกับ Application SKYMEMO T ซึ่งสามารถ Download ได้ทั้ง iOS และ AndroidiOS https://itunes.apple.com/us/app/skymemot-app/id1160534455?mt=8 Android https://play.google.com/store/apps/details?id=com.kenkoglobal.skymemot&hl=en
สำหรับ System ของ KENKO Skymemo T นั้นมีตามแผนภาพดังนี้
Spec การใช้งานคร่าวๆ มีดังนี้ครับ
เริ่มต้นการใช้งาน
ตัว equatorial wedge มีหน้าตาแบบนี้ครับเป็นหนึ่งในอุปกรณ์เสริมของ Kenko SKYMEMO series ตัวมอเตอร์เป็น
DC ใช้ถ่าน AA x 2 ก้อนเป็นแหล่งจ่ายไฟ ใช้งานได้ยาวนานถึง 20 ชม. (ตามที่ทาง Kenko ลงข้อมูลไว้) ซึ่งการใช้งานจริงพกสำรองไปอีกซักชุดกันเหนียวครับ
การใช้งานตัวมอเตอร์ตามดาว Kenko Skymemo T นั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องทำการตั้งทิศทางของตัวมอเตอร์ให้ชี้ไปยังดาวเหนือ เพื่อให้การหมุนของมอเตอร์นั้นสัมพันธ์กับการหมุนของโลก
การตั้งค่าจะเป็นขั้นตอนดังนี้
เมื่อถอดแล้วจะมีช่องตรงกลางสำหรับใส่กล้องส่องดาวเหนือ
2. เมื่อถอดเพลทด้านหน้าและหลังออกแล้วเราจะนำเอากล้องส่องดาวเนือมาประกอบเข้ากับตัวมอเตอร์ตามดาวโดยสอดเข้าไปในรูตรงกลางของตัวมอเตอร์
จากนั้นนำไฟช่วยส่องสว่างต่อเข้าด้านหน้าของกล้องส่อง หลังจากทำการประกอบเสร็จแล้วจะได้ตามภาพครับ การใช้งานจริงก่อนที่เราจะทำการติดตั้งกล้องส่อง จะใช้วิธีทำการมองทะลุผ่านช่องตรงกลางมอเตอร์ไปยังดาวเหนือเพื่อปรับมุมก้ม/เงย และ ซ้าย/ขวา ให้ดาวเหนือนั้นอยู่ในช่องตรงกลางมอเตอร์ จากค่อยประกอบกล้องส่องดาวเหนือ trick and trip : ในสถานการณ์จริงจะมีเลเซอร์ช่วยนำอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สดวกในการหาดาวเหนือผ่านกล้องส่อง
ภาพในกล้องส่องหาดาวเหนือจะมีลักษณะดังนี้
ทำการเลือกเมนู Polar clock Utility เพื่อแสดงตำแหน่งดาวเหนือที่ต้องทำการตั้งค่าให้ตรงภายในกล้องส่องดาวเหนือ
การตั้งค่าดาวเหนือนั้นเป็นการตั้งให้ดาวเหนือให้อยู่บนเส้นรอบวงที่เรียกว่า Polar clock สาเหตุที่เราต้องทำการตั้งดาวเหนือให้อยู่ในเส้นวงกลม ไม่ใช่จุดศูนย์กลางวงกลม เพราะว่าจริงๆ แล้วดาวเหนือนั้นไม่ใช่เป็นจุดหมุนที่แท้จริง แต่ดาวเหนือจะหมุนรอบแนวบนเส้นสมมุติเส้นหนึ่งที่เรียกว่า Polar clock และตำแหน่งดาวเหนือจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเส้นรอบวงนั้น ซึ่งตำแหน่งของดาวเหนือนั้นสามารถตรวจสอบได้จากโปรแกรม โดยจะเป็นจุดสีเทาแทนตำแหน่งของดาวเหนือ พอได้ตำแหน่งแล้วก็ทำการตั้งดาวเหนือในกล้องส่องบนตัวมอเตอร์ตามดาวให้ใกล้เคียงกับโปรแกรมให้มากที่สุดครับ
ปล. การตั้งดาวเหนือนั้นจะทำเพียงครั้งเดียวตอนก่อนเริ่มถ่ายภาพครับ
การถ่ายภาพ
เมื่อทำการตั้งดาวเหนือเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการถอดกล้องส่องออกแล้วทำการใส่เพลทหัวท้าย และติดตั้งหัวบอลเพื่อตรียมทำการถ่ายภาพครับ โดยกล้องที่ผมใช้จะเป็น Nikon D750 ซึ่งผมมีสายลั่น Shutter ที่สามารถต่อเข้ากับตัวมอเตอร์ตามดาวได้ โดยจะนำไปเสียบที่ช่อง SNAP ตามภาพ
จะทำให้สามารถสั่งการถ่ายภาพได้ผ่านทาง Application SkymemoT ได้โดยตรง แต่ถ้าหากใครไม่มีสายลั่นดังกล่าวก็สามารถถ่ายได้ครับ แต่ต้องส่งงานให้มอเตอร์หมุนตามดาวไปด้วย และคอยสั่งให้กล้องเก็บภาพตามครับ
การใช้งานในสถานที่จริงกับ Skymemo T และกล้อง Nikon D750
การตั้งค่าตัวกล้อง
1. ทำการตั้งค่ากล้องไปที่ Mode M เลือกรูปรับแสงไว้ที่กว้างสุด ใช้ ISO ที่ประมาณ 1000 -3200 และ Speed shutter ไว้ที่ B(กรณีสั่งงานผ่านสายลั่นที่ต่อเข้าตัวมอเตอร์)
2. ทำการเเชื่อมต่อ wifi กับตัวมอเตอร์ตามดาวดังนี้
โดยทำการเปิด Power ตัวมอเตอร์ โดยกดปุ่มสีดำตามภาพ เมื่อเปิดแล้วจะเห็นไฟสีแดงและเขียวกระพริบ
เมื่อเปิดเครื่องแล้วจะเห็น Wifi ชื่อ SynScanWiFi ให้ทำการเชื่อมต่อ เมื่อเชื่อมต่อได้
แล้วทำการเปิดใช้งาน Application Skymemo T 3.ทำการเลือกเมนู Astrophotograhy
3. การตั้งค่าการถ่ายภาพในโปรแกรมดังนี้ Exposure : เป็นค่าระยะในการเปิดหน้ากล้อง(วินาที) ในการถ่ายภาพครั้งนี้ผมเปิดหน้ากล้องนาน 120วินาที
Photo interval : ค่าระยะเวลาหน่วงระหว่างการถ่ายภาพแต่ละครั้ง
Photo : จำนวนภาพที่จะถ่าย
Tracking Rate : Sidereal เป็นการหมุนมอเตอร์ตามความเร็วของโลก
Wifi off on Run : ปกติไม่เปิดใช้ เพื่อให้สามารถติดตามสถานะการทำงานของมอเตอร์ได้
Trick กรณีไม่มีสายลั่นชัตเตอร์ที่ต่อจากกล้องไปยังตัวมอเตอร์ เราจะใช้ Mode การถ่าย Timelapse ในตัวกล้อง หรือตั้งค่า ผ่าน Remote และทำการตั้งค่า Exposure time ให้ครอบคลุมเวลาทั้งหมด ตัวอย่างเช่นตั้งค่าถ่ายภาพ 30วินาที ต่อภาพ มี interval 1วินาที จำนวน 5 ภาพ จะใช้เวลาถ่ายภาพทั้งหมด (30x5) + (1x5) =155วินาที เราก็ทำการ Set Exposure time ให้มากกว่าค่าที่คำนวนได้เล็กน้อยครับ
เทคนิคในการถ่ายภาพดาว และวัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือที่เราเรียกว่า Deep Sky Object นั้นจะนิยมถ่ายภาพจำนวนหลายๆ ใบแล้วนำมา stack กันเพื่อให้ได้รายละเอียดของภาพที่มากขึ้น
4. เมื่อทำการตั้งต่าเรียบร้อยแล้วก็ทำการสั่ง Run โดยการกดที่มุมขวาบนเพื่อสั่งให้มอเตอร์ทำงานครับ
ปล. ในการใช้งานจริง ที่มุมซ้ายล่างจะขึ้นเป็น Connect นะครับและในขณะที่กล้องทำงานเราสามารถตรวจสอบสถานะได้โดยเลือกที่ status ตรงกลางด้านล่าง จะมี Pop up ขึ้น ตามภาพครับ
ตัวอย่างภาพที่ถ่ายจากการใช้มอเตอร์ตามดาว Kenko Skymemo T ตัวนี้ครับ
ภาพบางภาพจะทำการ Corp เพื่อจัดองค์ประกอบ เนื่องจากระยะเลนส์ที่ใช้เป็น 105mm ภาพ เต็มของกาแลคซี่แอนโดรเมดาที่ถ่ายมาได้เมื่อเทียบกับที่ corp ภาพ
กระจุดดาวลูกไก่
ภาพที่ได้ทำการ Process โดย Photoshop แล้วครับ
1. กาแล็กซีแอนโดรเมดา (Andromeda Galaxy, M31)
Nikon D750 + 105mm f2.8 120sec x 5 stack in PS 2. กระจุกดาวลูกไก่ Nikon D750 + 105mm f2.8 120sec x 5 frames Stack in PS 3. Orion's Belt with Orion Nebula
Nikon D750 + 105mm f2.8 120sec x 5 frames Stack in PS
4. กลุ่มดาวนายพราน
จากการใช้งานมาประมาณ 2 อาทิตย์ซึ่งกว่าฟ้าจะเปิดได้ถ่ายจริงๆ ก็เมื่อวันที่ 17-18/11/2560 ที่ผ่านมาครับ โดยการถ่ายภาพได้รับคำแนะนำจากพี่ๆ ในกลุ่ม Facebook : Star Hunters Club : ชมรมพรานดารา ผมพึ่งจะได้เริ่มถ่ายภาพแนวนี้ก็ตอนที่ได้ตัวมอเตอร์ตามดาวของ Kenko SkymemoT
สรุปการใช้งานอุปกรณ์ Kenko Skymemo T
1. มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา พกออกไปถ่ายนอกสถานที่ได้สดวก
2. สามารถถ่ายตามดาวได้อย่างแม่นยำ (ความแม่นยำขึ้นอยู่กับการตั้งค่าดาวเหนือ)
3. แบตเตอรี่สามารถอยู่ได้นาน 20 ชั่วโมง
4. สามารถสั่งงานผ่าน Application Skymemo T ทำให้สดวกแก่การใช้งาน
5. มีโปรแกรมสั่งให้ตัวมอเตอร์ทำงานแบบตาวปกติ ตามตำแหน่งการเคลือนที่พระอาทิตย์ หรือ ตามพระจันทร์
6. สามารถตั้งค่าให้ใช้ Pan กล้องสำหรับถ่าย Timelapse ได้
7. มีอุปกรณ์เสริมที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานได้
ราคาเปิดตัวสำหรับประเทศไทยนั้นอยู่ที่ประมาณหมื่นกลางๆ เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นหัดถ่าย ถ้าสนใจhttp://www.markmarcross.co.th/index.php/products/tracker-skymemo.html ส่งท้ายกันด้วยเอามอเตอร์ตามดาวสามารถนำมาประยุกต์ใช้แพนกล้องในการถ่าย Timelpase